Wednesday, October 10, 2012

อาการ T.M.D ปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร

อาการ T.M.D  ปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร

เล่าย้อนไปเมื่อประมาณต้นปี เรามีอาการปวดขมับ ปวดขากรรไกร เมื่อยปาก เวลาพูดหรือเคี้ยวอาหารมีอากาติดๆขัด มีเสียงดังกึกๆ
แรกๆ เป็นไม่มากผ่านไปไม่ถึงเดือนอาการหนักจนคิดว่า "หาหมอดีกว่าเฮ้ย...." 

แรกเลยเราสับสนมาก จะไปหาหมอที่ไหนดี หมออะไรดี สุดท้ายเราตัดสินสินใจไป รพ จุฬา ที่แผนก หู ตา คอ จมูก
หมอบอกว่า เราอาจจะเป็นโรค ข้อต่อขาหรรไกรอักเสบ หมอบอกว่าให้เราไปนัดหมอที่โรงพยาบาลทันตกรรมจุฬา ซึ่งกว่าจะได้คิวนานมากๆๆๆๆ 
วันนั้นหมอจ่ายยานอนหลับให้เรา เพราะต้องการให้เราหลับสนิท จะได้ไม่กัดฟันด้วย ต้องบอกก่อนเลยว่าช่วงนั้นปวดจนนอนไม่หลับ หน้าบวม ทรมานมาก
กินอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงนั้นอาการดีขึ้นนะ  เราต้องพูดให้น้อยลง กินอาหารอ่อน หมากฝรั่งนี่่ห้ามเด็ดขาด  

ต่อมารักษาที่ รพ ทันตกรรม คุณหมอที่รักษาเราคือ รศ.ทพญ.สุปราณี    วิเชียรเนตร  
คุณหมอให้อ้าปาก หุบปาก อ้าปาก หุบปาก  อ้าค่ะ หุบค่ะ อ้าค่ะ หุบค่ะ  ทำอยู่แบบนี้เป็น 10 รอบจน ขากรรไกรมันค้าง เอาไม่ลงวินาทีนั้นเราตกใจมาก 
คิดในใจ ตายแน่ถ้าเอาไม่ลงแล้ว.........ทำไงดี  แต่คุณหมอก็จับตรงค้างแล้วโยกๆ แล้วหุบลง  มันเป็นวินาทีที่ตื่นเต้นมาก มากจริงๆ ^^

ต่อมาคุณหมอก็นัดใส่เครื่องมือ ลักษณะเหมือนที่ครอบฟัน(ค่าเครื่องมือ 4000บาท ) ให้ใส่เฉพาะฟันบน และเฉพาะเวลานอนเท่านั้น
แรกๆใส่ทรมานมาก มัทำให้หายใจไม่ได้ เหมือนมีอะไรจุกปากทำให้จะอ้วกตลอดเวลา กลืนน้ำลายไม่ลงคือลิ้นมันไปแตะเพดานไม่ได้อะ 
ทรมารมากอะ นอนๆต้องลุกขึ้นมานั้งเพื่อเอาเครื่องมือออกจากปากเพื่อหายใจ  แต่พอใส่ไปสักพักจะชินเอง (ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์)
จากนั้นคุณหมอก็นัดอีกเดือนให้หลัง เพื่อดูความคืบหน้า

หลังจากที่เราใส่ไป 1เดือน พบว่าอาการดีขึ้นมาก เคี้ยวอาหาร พูด ไม่เจ็บอีกต่อไปชีวิตมีความสุข Happy  555 แต่สุขนี้ก็หาอยู่ได้นานไม่
วันนี้วันที่เรากำลังนั่งพิมพ์อยู่ อาการเดิมมันก็กลับมา เราปวดขากรรไกร เริ่มมีอาการติดขัดเวลาพูดหรือเคี้ยวอาหาร ทั้งที่เราก็ใส่เครื่องมือทุกคืน
ไม่แน่ใจว่าสาเหตุมาจากอะไร แต่เราคิดว่า "น่าจะมาจากการที่เราร้องไห้บ่อยรึป่าวไม่แน่ใจ เวลาร้องมันจะเกร็งอะ ทำให้เมื่อยปาก ......เกี่ยวมั้ย อันนี้เดาล้วนๆ "

วันนี้ได้โทรไปนัดคุณหมอมาแล้ว ซึ่งก็ฮอตอีกตามเคยได้คิวเดือนหน้า คือ 27 พฤศจิกายน 55 เวลา 10.30 น  เฮ้อ...รอกันต่อไป

ข้อมูลการรักษา
คลินิกพิเศษทันตรักษ์ ชั้น 1 ตึกทันตรักษ์วิจัย ชั้น 1
โทร 02-2188902-4
รศ.ทพญ.สุปราณี    วิเชียรเนตร
ทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขา ทันตกรรมบดเคี้ยว

บทความเกี่ยวกับโรค
  • รู้สึกติดขัดเวลาอ้าปาก ไม่สามารถอ้าปากได้เต็มที่
  • มีอาการปวดบริเวณใบหน้า หรือข้อต่อขากรรไกร ขณะอ้าปากกว้าง , หาวหรือขณะเคี้ยวอาหาร
  • รู้สึกมีเสียง “คลิก”  หรือ  “เป๊าะ”  ที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร  ขณะอ้าปากหรือหุบปากเคี้ยวอาหาร
  • เคยมีขากรรไกรค้าง  แต่เมื่อขยับคางซ้ายขวา  ก็สามารถหุบลงได้เอง
  • มีอาการปวดขมับ
        
        หากเคยมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง แสดงว่าอาจจะเริ่มมีความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยว หรือข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเรารวมเรียกว่าระบบการบดเคี้ยว กลุ่มอาการนี้เรียกว่า เทมโพโรแมนดิบูล่าร์ ดิสออเดอร์ (Temporomandibular Disorders) เขียนย่อว่า T.M.D. คือ กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการบดเคี้ยว ซึ่งจัดเป็นความผิดปกติของระบบกระดูก  เอ็น  ข้อ และกล้ามเนื้อที่ใช้ทำหน้าที่หน้าที่บดเคี้ยว  อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและช่องปาก หรือทำให้การทำหน้าที่ของระบบการบดเคี้ยวผิดปกติไป โดยปัจจัยต่างๆ ที่ลดความสามารถในการปรับตัวของระบบการบดเคี้ยวและทำให้เกิดกลุ่มอาการ T.M.D. ได้คือ
 
 
  1. ภยันตราย  คือมีแรงมากระทำต่อระบบการบดเคี้ยว  มากกว่าแรงที่เกิดเกิดจากการทำงานปกติ เช่น จากอุบัติต่างๆ  หรืออีกรูปแบบหนึ่งเกิดจากการที่ขากรรไกรถูกใช้งานมากเกินไปอย่างกะทันหัน เช่น กัดของแข็งโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อนเช่น เม็ดกรวดในข้าว การอ้าปากนานๆ จากการทำฟัน  นอกจากนี้อาจเกิดจากคนที่ชอบนอนกัดฟันเป็นระยะเวลานานๆ 
  2. ลักษณะโครงสร้างของกระดูกขากรรไกร  ซึ่งเป็นผลจากพันธุกรรม หรือการเจริญเติบโต หรือเป็นผลกระทบจากการรักษาในอดีต  เช่น  การจัดฟันที่ไม่ถูกต้อง
  3. ปัจจัยทางจิตสังคม  หมายถึง  สภาวะหรือสถานภาพที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน  ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้  จากาการศึกษาพบว่า  ผู้ป่วย  T.M.D.  มักจะมีลักษณะวิตกกังวล และความซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป  อาจเป็นได้ว่าเกิดจากความเครียด  ทำให้กล้ามเนื้อตึงมีอาการเจ็บปวดได้
  4. ปัจจัยทางระบบ  โรคทางระบบหลายๆ โรคที่เกี่ยวข้องได้แก่  ระบบต่อมไร้ท่อ  เนื้องอก  โรคข้อ  คือความดันและการหล่อลื่นของข้อต่อผิดปกติ  ระบบประสาท  ระบบหลอดเลือด
 
        
        อาการของ T.M.D. พบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ ความชุกของ T.M.D. จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ อย่างไรก็ตามระดับความรุนแรงของอาการปวดมักไม่ค่อยแตกต่างกัน พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 - 40 ปี เนื่องจากผู้หญิงขอเข้ารับการรักษามากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 3:1 ถึง 9:1 อาจเป็นเพราะว่าผู้หญิงเอาใจใส่สุขภาพของตนเองมากกว่าผู้ชาย อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้คือ
 
  1. ความเจ็บปวดและการกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า  และข้อต่อขากรรไกร  เป็นอาการที่พบมากที่สุดในผู้ป่วย  T.M.D. เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบทันตแพทย์ บริเวณที่มักมีอาการปวดได้แก่  บริเวณ  หน้าหู  กราม ขมับ  อาการปวดมักเพิ่มขึ้นขณะเคี้ยว หาว การพูดหรืออื่นๆ เมื่อกดที่บริเวณนั้นๆ จะเกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น  ลักษณะการปวดกล้ามเนื้อใบหน้า  มักจะมีลักษณะแผ่กระจายต่อเนื่องปวดตื้อๆ ตึงหรือเหมือนถูกบีบ  สาเหตุของการปวดหรือเมื่อยล้านี้ เกิดจากการขาดเลือด  และมีการหดตัวของหลอดเลือดส่วนอาการปวดที่ข้อต่อจะมีลักษณะปวดจี๊ดๆ และรุนแรงที่มักเกิดอาการร่วมกับการเคลื่อนที่ของขากรรไกรเมื่อขากรรไกรพักอาการปวดจะหายอย่างรวดเร็ว
  2. เสียงที่ข้อต่อขากรรไกร  มักเกิดขณะอ้าปาก  หุบปาก  เยื้องคางหรือยื่นคาง  อาจตรวจพบเสียง “คลิก”  ขณะมีการเคลื่อนที่ของขากรรไกร  บางครั้งอาจดังมากเป็นเสียง “เป๊าะ”  เหมือนหักไม้  เสียงนี้อาจเกิดจากรูปร่างของปุ่มกระดูกหรือหัวข้อต่อผิดปกติหรือขรุขระ  ในกรณีที่มีเสียงดังอย่างเดียว  แต่ไม่มีอาการปวดก็ยังไม่ถึงต้องรับการรักษา  ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุ  จะมีเสียงดังผิดปกติ  โดยเป็นเสียงดังกรอบแกรบ  หรือเสียงครูด  คล้ายเสียงลากไม้ไปตามพื้นกรวด  มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของข้อต่อขากรรไกร  มีการทำลายของเนื้อเยื่อ  และเอ็นยึดภายใน  และผิวกระดูกอ่อนภายในมีความขรุขระ
  3. การเบี่ยงเบนของแนวการเคลื่อนที่ของขากรรไกร ลักษณะแนวการอ้าปากและหุบปากของคนปกติเป็นแนวเส้นตรง  ส่วนในผู้ป่วย T.M.D.  อาจมีอาการเบี่ยงเบนของการอ้าปากได้เป็น 3 ลักษณะคือ

    • แบบตัว S  คือ  เวลาอ้าปากจะเฉไปจากแนวตรงและเมื่อหุบ  ปากก็จะเบี่ยงกลับมาที่แนวเส้นเดิมได้
    • แบบเบนไปด้านข้าง  คือเวลาอ้าปากจะเบี่ยงเบนออกไปจากแนวตรงไปทางด้านข้าง  ขณะอ้าปากสุด  ก็จะไม่เบนกลับมาแนวเดิม  และเมื่อหุบปากจะได้แนวขนานกับเวลาอ้าปาก
    • แบบกระตุก  เป็นลักษณะของการอ้าปากที่ไม่ราบเรียบและต่อเนื่อง  ดังภาพ 2D มักพบในกรณีผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
    • การเคลื่อนที่ของขากรรไกรได้จำกัดหรือน้อยลง  หมายถึง  ระยะการอ้าปากเต็มที่จะน้อยลง  ซึ่งค่าปกติจะประมาณ  53-58  มม.  แต่จะถือระยะที่น้อยกว่า 40 มม.  เป็นระยะที่ผิดปกติ  ในผู้ป่วย  T.M.D.  ถ้าฝืนอ้าให้กว้างขึ้นจาก  40 มม.  จะมีอาการตึงหรือปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อขากรรไกรทันที  รวมทั้งการเยื้องคางซ้ายขวา  การยื่นคางมาข้างหน้าด้วยจะได้ระยะน้อยกว่า  7  มม.  ซึ่งเป็นค่าปกติ
 
อาการอื่นๆ ที่พบร่วมกับ  T.M.D. ได้คือ
  • ปวดศีรษะ อาจเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวบริเวณขมับในผู้ป่วยที่มีการนอนกัดฟัน พบได้ว่าจะมีอาการปวดศีรษะเมื่อตื่นนอนตอนเช้า  ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนกับถูกบีบรัดที่ศีรษะ  และมักปวด 2 ข้างพร้อมกัน 
  • อาการทางหู  เนื่องจากรูหูและข้อต่อขากรรไกรจะอยู่ใกล้กันมาก  อาจทำให้ไม่สามารถบอกตำแหน่งของความเจ็บปวดได้แน่นอน  นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วย  T.M.D.  อาจมีอาการหูอื้อ  ลมออกหู  มีเสียงในหู  หรือวิงเวียนได้
  • อาการแสดงที่ฟัน  การโยกของฟัน  พบได้มากในคนที่มีนิสัยนอนกัดฟัน การอักเสบของประสาทฟัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดที่จะเข้าไปเลี้ยงประสาทฟันทางปลายรากได้ ฟันสึก  ฟันจะสั้นกว่าเดิม
 
    หากสงสัยว่าจะมีความผิดปกติของกลุ่มอาการ T.M.D. อาจปรึกษาทันตแพทย์สาขาระบบการบดเคี้ยวได้ เพื่อช่วยรักษาและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มต้น
 
 
 
รศ.ทพญ.สุปราณี    วิเชียรเนตร 
ทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขา ทันตกรรมบดเคี้ยว


   

8 comments:

  1. ผมก็เป็นอยู่ไม่ทราบหายหรือยังครับ

    ReplyDelete
  2. ฉันมีอาการทุกอย่างและเป็นมานาน เรื่องปวดหัวเป็นแค่หาสาเหตุไม่เตอ เพิ่งรู้ว่ามาจากขากรรไกร แต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร ยังไง มีหมอแนะนำไปรพ.จุฬาแต่กังวลเรื่องค่าใช้ต่าย ขอคำปรึกษาได้ไหมคะ

    ReplyDelete
  3. ฉันมีอาการทุกอย่างและเป็นมานาน เรื่องปวดหัวเป็นแค่หาสาเหตุไม่เตอ เพิ่งรู้ว่ามาจากขากรรไกร แต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร ยังไง มีหมอแนะนำไปรพ.จุฬาแต่กังวลเรื่องค่าใช้ต่าย ขอคำปรึกษาได้ไหมคะ

    ReplyDelete
  4. กำลังเป็นอยู่คะ กำลังจะไปหาคุณหมอท่านนี้ ตอนเเรกที่เป็นก็งงเหมือนกันว่าจะไปหาหมอด้านไหนดี อยากพูดคุยกับคนกลุ่มอาการเดียวกันจังเลยคะ ยังไงถ้ามีท่านใดมาอ่านเเละพบว่าเราเป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการเดียวกัน รบกวนตามมาพูดคุยทักทายกันหน่อยนะคะ ที่ www.facebook.com/nisa.sirisaer หรือ id line rukberrystudio

    ReplyDelete
  5. i discovered this weblog after a long time that's clearly beneficial to allow understand unique techniques. i'm going to adopt the ones new issue to my career and thankful for this assist. ลดแก้ม

    ReplyDelete
  6. ตกลงเป็นยังไงบ้างครับ

    ReplyDelete
  7. ตอนนี้อยู่ในช่วงทำการรักษาขั้นอรกอยู่ค่ะ เนื่องจากทำฟันปลอมบนล่างตอนพิมพ์ฟันต้องอ้าปวกค้างไว้นานๆ หลังจากนั่นก้มีอาการกินข้าวหรือแค่อ้าปากเพียงเล็กน้อยก้จะได้ยินเสียงเปี๊ยะๆ คลิกๆบริเวณกกหู บางครั้งปวดทั้งขมับ จากนั้นได้ไปปรึกษาหมอ หมอจึงแนะนำให้ปะคบร้อน อ้าปากนิดเดียวและกินของอ่อนๆ และตอนนี้อยู่ในช่วงดูอาการ ตอนนี้อ้าปากได้แค่นิ้วชี้รอดได้บริเวณข้างหุรุ้สึกตึงๆไปทั้งหน้าเลยค่ะ ลองอ้าปากสุดก้ไม่ได้ยิงปวด ก้คอยนวดขมับและประคบร้อนเลื่อยๆ แบบนี้ควรทำไงดีคะ

    ReplyDelete
  8. ตอนนี้รักษาอยู่ กับคุณหมอชัชวาล ค่าใช้จ่ายแพงมากรักษาไปมาจะสองแสนอยู่แล้ว ใครกำลังรักษาอยู่ทักมาคุยหน่อยคะ Line: stellarx

    ReplyDelete